1.
“เจอกันตีสี่ครึ่ง เค้าท์เตอร์ K นะคะ”
อืมมม … ตีสี่ครึ่ง เช้ามืดกันเลยทีเดียวสำหรับเวลานัดหมายในการเดินทางไป “สัมผัสดินแดนมังกรสายฟ้า” ประเทศภูฏาน
จากบ้านไปสนามบินสุวรรณภูมิราว 48 กิโลเมตร
ใช้เวลาเรียกแท๊กซี่ นั่งรอ และนั่งรถราวๆ 45 นาที-1 ชั่วโมง
นั่นแปลว่าตีสามครึ่งต้องออกจากบ้าน
และแปลว่า ตีสองครึ่งไม่เกินนี้ต้อง “ตื่น” เพื่อให้เวลาเตรียมตัวอาบน้ำอาบท่าราว 1 ชั่วโมง
ส่วนกระเป๋าเดินทางน่ะหรือ … จัดไว้ล่วงหน้าแล้วจ้าาาาาาา
เพราะว่าเรา … ตื่นเต้นนนนนนนนนนน


สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่เคยหลับใหล ช่วงหัวค่ำอาจจะคนเยอะหน่อยเพราะไฟล์ทยอดนิยมจะออกเดินทางกันยามกลางคืน
ส่วนเช้ามืดแบบนี้ จะเห็นภาพผู้โดยสาร นั่งๆ นอนๆ ยึดเก้าอี้ไว้ราวกับเตียงนุ่มในโรงแรม 5 ดาว
ส่วนสายฮิปสเตอร์อย่างเราต้องนั่งรอที่ร้านกาแฟ … รับคาเฟอีนแก้ง่วงกันสักหน่อย
ถึงเวลานัดหมาย เค้าท์เตอร์เปิด เจ้าหน้าที่พร้อม การเช็คอินผ่านไปได้ด้วยดี
การตรวจคนเข้าออกเมืองก็ฉลุย มีเวลาเหลือเล็กน้อยสำหรับการเดินดูของที่ดิวตี้ฟรี
เหลือบมองตั๋วสลับกับมองนาฬิกา Borading Time 06.15 น.
ไฟล์ท 06.50 น. บินราว 4 ชั่วโมง จะถึงภูฏาน (จะแวะกัลโกต้า ก่อนพาโร ประมาณ 50 นาที)
เราใช้บริการสายการบิน “Bhutan Airline” ครับ

ภูฏานแอร์ไลน์จะบินออกจากประเทศไทยวันละเที่ยวครับ
ที่จริงสายการบินที่สามารถบินไปภูฏานได้ยังมี “ดรุ๊กแอร์” อีกเจ้าหนึ่งครับ ก็แล้วแต่สะดวกครับ
แต่สำหรับผมจากที่เคยบินทั้ง 2 เจ้า แทบจะไม่พบความแตกต่างกันครับ ชอบทั้งคู่

มาตรฐานการบริการก็เหมือนกับสายการบินฟูลเซอร์วิสทั่วไป แต่ลูกเรือจะชอบคนไทยเราเป็นพิเศษครับ
“คุ้นเคยกันดี เพราะบินบ่อย คุยกันง่าย คนไทยน่ารัก” ลูกเรือคนหนึ่งบอกแบบนั้น
บนเครื่องจะเสิร์ฟอาหารเช้ารอบแรก และรอบที่ 2 หลังจากเทคออฟที่กัลโกต้าจะเสิร์ฟสแนคอีกครั้งหนึ่ง
รสชาติแทบจะไม่เป็นปัญหา (เข้าใจว่าใช้ครัวการบินไทยเหมือนดรุ๊กแอร์)

กินๆ เม้าท์ๆ นั่งเพลินๆ บินสบาย อาจจะมีหวาดเสียวเล็กน้อยตอนบินผ่านช่องเขาเลี้ยวขวา ปาดซ้ายแล้วแลนด์ดิ้งงงงงงงง
ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง ก็ถึงสนามบินพาโรครับ
และแทบทุกคนที่ลงเครื่องจะต้องขอถ่ายภาพอาคารผู้โดยสารเป็นที่ระลึก เพราะเป็นอาคารที่คงเอกลักษณ์ของภูฏานไว้ได้มาก

สวย คลาสสิค และมีความเป็นธรรมชาติสูง
3 คำนี้ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของภูฏานที่เราได้เห็นตลอดทั้งเมือง
การเดินทางลัดเลาะไปในดินแดนมังกรสายฟ้าของผม เริ่มต้นขึ้นแล้ว …. เมื่อเจ้าหน้าที่ตม. หยิบพาสปอร์ตขึ้นมา
“ประทับตราผ่านแดน”


พื้นที่ที่เราจะเดินทางท่องเที่ยวภูฏานนั้นคือฝั่งตะวันตก (East of Bhutan) ครับ ซึ่งเป็นฝั่งที่เจริญที่สุดในภูฏาน โดยมี “ทิมพู” เมืองหลวงปัจจุบันเป็นจุดกึ่งกลาง ถัดเข้าไปเป็นอดีตเมืองหลวง “ปูนาคา”
ส่วนพาโรเป็นเมืองหน้าด่านที่เราลงเครื่อง

เรานั่งรถอกจากเมืองพาโรลัดเลาะมาตามไหล่เขาราว 1 ชั่วโมง เราก็ถึงเมืองหลวง “ทิมพู” แล้วครับ
การเดินทางในช่วงสองเมืองนี้ถือว่าค่อนข้างดีเลยครับ ติดนิดนึงคือถนนไฮเวย์หรือถนนทั่วไปก็มี 2 เลนเท่ากัน
เข้าใจครับว่าเป็นการขับตามริมเขา จะทำทางใหญ่ๆ ก็อาจจะไม่เหมาะนัก
รถยนต์ส่วนบุคคลของที่นี่จะเป็นรถเก่งคันเล็กๆ ครับ ยี่ห้อที่ขายดีก็มีทั้งซูซุกิ ทาทา ฮุนได มีบ้าง
ส่วนบีเอ็มกับเบนซ์ นานๆ เจอที (แต่ก็ใข่ว่าจะไม่มีนะครับ และแน่นอนว่ารถยนต์ก็ยังเป็นเครื่องมือสากลในการชี้วัดดัชนีความมีตังค์ของคนที่นี่และอีกหลายที่)
มาถึงทิมพูก็เที่ยงพอดี … เวลาที่นี่จะช้ากว่าเมืองไทยราว 1 ชั่วโมง
นั่นแปลว่าหากที่ภูฏานเป็นเวลาเที่ยง ที่เมืองไทยราวๆ บ่ายโมง
มิน่า … ท้องร้องดังมากกกกก

อ่อ! เวลาไปเที่ยวเมืองไหน อย่าลืมปรับนาฬิกาให้เป็นเวลาท้องถิ่นเพื่อง่ายต่อการนัดหมายและการใช้ชีวิตนะครับ
และอย่าได้คิดถึงเวลาที่เมืองไทยมากนัก เพราะจะพาลอุปทานว่าได้เวลากิน ได้เวลานอน ตามความเคยชิน
ที่ภูฏานยังดี เวลาไม่ห่างกันมาก แต่หากเป็นฝั่งยุโรปแล้วล่ะก็ … เวลานอนท่านจะบ่นหิว เวลากินท่านจะง่วงนอนได้ ^ ^
4.
ที่ภูฏาน เราทานอาหารกันที่ภัตตาคารสลับกับร้านอาหารในโรงแรม “ทุกมื้อ” ครับ
อาหารการกินท้องถิ่นของที่นี่ ถ้าคนไหนกินง่าย … ก็รอด
ผมกินยาก อยู่ยาก เจอแกงอิมาตาชิ หรือแกงพริกใส่ชีส หรือแกงท้องถิ่นเข้าไป แทบหงายหลังล้มตึ้ง!!
อาหารเหล่านี่ของดี มีให้คนสำคัญ เลี้ยงกันในงานพิเศษเท่านั้นนะครับ แหะๆ
กับข้าวอย่างอื่นก็ผัดผัก แกงใส่เครื่องเทศแขกบ้าง เมนูเนื้อไก่บ้าง
ปลาแทบไม่มี คนที่นี่ไม่ทานค่อยปลา ขนาดน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เค้าก็ไม่จับปลา ฆ่าปลานะครับ เขากลัวว่ามันบาป
ถ้าอยากจะทานก็ไปตลาด ไปซื้อปลานำเข้าจากอินเดียมาทานแทน
เดี๋ยวนี้พ่อครัวภูฏานเก่งครับ ทำอาหารได้หลากหลายเชื้อชาติ เพื่อเอาใจแขก
อาหารญี่ปุ่นมี จีนก็มี ฝรั่งนี่แน่นอนทุกเช้าในไลน์ ส่วนอาหารไทย … กลับมากินที่บ้านเราดีกว่าครับ
กลางวันมื้อแรกของภูฏาน พ่อครัวทำ “ต้มยำ” ให้กิน
รสชาติน่ะเหรอ .. เหมือนต้มน้ำหม้อใหญ่แล้วใส่คนอร์ก้อนต้มยำลงไป 2 ก้อน
มันจืดสิ้นดี แทบไม่มีรสความแซ่บของพี่ไทยปนมา
อย่างว่าที่นี่เค้าทานอาหารรสไม่จัด นี่อาจจะเป็นความแซ่บจี๊ดเผ็ดร้อนครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติภูฏาน!!
ล้อเล่นนะครับ …
คนภูฏานใจดี อยากเอาใจ คอยเป็นห่วงเป็นใย จะทานได้ไหม อร่อยไหม …
เจอน้ำพริกกะปิ ปลาทูแม่กลองทอดตัวใหญ่ๆ ที่กลุ่มผมเตรียมมาเข้าไป … ต้มยำกลายเป็นซุปหัวไชเท้าไปเลย
ความแซ่บ มันต่างกัน …
เอาล่ะ … ค่อยเหมือนอยู่บ้านหน่อย
5.
มาภูฏานไม่ต้องกลัวอดอาหารละ กรุ๊ปนี้พี่แกเล่นใหญ่มาก ของกินเยอะทุกสิ่ง
กลางวันเป็นน้ำพริกปลาทูหน้างอคอหักทอดกรอบๆ … ตกเย็นเจอขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ยอดมะพร้าวอ่อนเข้าไปหม้อเบ้อเริ่ม!!





ลืมอาหารภูฏานที่ตั้งใจมาจากบ้านว่าจะกินโน้น กินนี่ ไปเลย!!
จัดหนัก จัดเต็มทุกมื้อแบบนี้
ทำให้สับสนเล็กน้อยว่า … นี่เราอยู่เมืองทิมพูภูฏาน หรืออยู่แถวดอยแม่สะลอง!!

ขอพักกระทู้แรกของผมเอาไว้เท่านี้ก่อนนะครับ “โปรดติดตามตอนต่อไป …”
To be Continued
กล้องทั้งหมดที่ใช้ในการถ่ายภาพรีวิว “Nikon D800E, GoPro, iPhone6Plus
ติดตามเรื่องราว “กานต์เดินทาง” ของผมได้ในแฟนเพจ Facebook: https://www.facebook.com/kantjourney

1.
“เจอกันตีสี่ครึ่ง เค้าท์เตอร์ K นะคะ”
อืมมม … ตีสี่ครึ่ง เช้ามืดกันเลยทีเดียวสำหรับเวลานัดหมายในการเดินทางไป “สัมผัสดินแดนมังกรสายฟ้า” ประเทศภูฏาน
จากบ้านไปสนามบินสุวรรณภูมิราว 48 กิโลเมตร
ใช้เวลาเรียกแท๊กซี่ นั่งรอ และนั่งรถราวๆ 45 นาที-1 ชั่วโมง
นั่นแปลว่าตีสามครึ่งต้องออกจากบ้าน
และแปลว่า ตีสองครึ่งไม่เกินนี้ต้อง “ตื่น” เพื่อให้เวลาเตรียมตัวอาบน้ำอาบท่าราว 1 ชั่วโมง
ส่วนกระเป๋าเดินทางน่ะหรือ … จัดไว้ล่วงหน้าแล้วจ้าาาาาาา
เพราะว่าเรา … ตื่นเต้นนนนนนนนนนน